วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2563

Image result for welcome การ์ตูน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่4

         วันจันทร์ ที่ 27 มกราคม พ.ศ.2563 เวลา 08:30-12:30 น.

เนื้อหาที่เรียน

       -เด็กจะเริ่มเรียนจากของจริงก่อน(ของเล่นจริง)แล้วจึงเรียนด้วยนามธรรม(หนังสือนิทาน,หนังสือแบบฝึก)
       -นิยามของคำว่าพัฒนาการ >>> ความสามารถที่เด็กแสดงออกตามขั้นอายุ
       -ลักษณะของพัฒนาการ >>> พัฒนาเป็นลำดับอย่างต่อเนื่อง
       -วิธีการจัดประสบการณ์ >>> ออกแบบให้สอดคล้องกับการเล่นของเด็ก

 สาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ 6 สาระ

         สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ 
                 การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆ จะต้องกำหนดสิ่งเริ่มต้นให้เด็กก่อน แล้วจึงจะจัดอันดับ
                 การรวมตัวเป็นการนับจำนวนต่างๆ สองกลุ่ม ได้ผลรวมมากขึ้น
         สาระที่ 2 การวัด
                การวัดความยาว ความสูง ของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน เช่น การใช้นิ้ว มือ ฝามือ ศอก เชือก
                การชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องมือวัดชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน เช่น มือ การทำคาน  หนักกว่า เบากว่า หนักเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียนเทียบน้ำหนักของสิ่งต่างๆ
         าระที่ 3 เรขาคณิต 
                ข้างบน ข้างล่าง ข้างใน ข้างนอก ระหว่า ซ้าย ขวา ใกล้ ไกล เป็นคำที่บอกตำแหน่ง ทิศทาง
                การจำแนกทรงของวงกลม ทรงสี่เหลี่ยม กรวย จะใช้วิธีพิจารณารูปร่าง
         สาระที่ 4 พีชคณิต 
                แบบรูปเป็นความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุด ของจำนวนรูปเรขาคณิตหรือสิ่งต่างๆ
         สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
                 การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีสังเกตหรือสอบถาม นำเสนอเป็นรูปภาพหรือกราฟ
         สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิต
                 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์


  คำศัพท์

1.Learning สาระการเรียนรู้
2.Between ระหว่าง
3.Geometry เรขาคณิต 4.Skills ทักษะ 5.Measuring การวัด

ประเมิน

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับสาระทางคณิตศาสตร์ทั้ง6สาระและมอบหมายงาน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังและให้ความร่วมมือในการถามตอบ
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบาย




วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563


สรุปบทความ


การสอนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จากวัสดุธรรมชาติ หมายถึง การส่งเสริมให้เด็กได้ใช้และเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เช่น ด้านการสังเกต เปรียบเทียบ การจัดกลุ่ม การเรียงลำดับ การนับ การรู้ค่าจำนวนจากวัสดุธรรมชาติที่ได้จากพืชและสัตว์ เช่น เมล็ดธัญพืชต่างๆ เปลือกข้าวโพด ใบมะพร้าว ก้านกล้วย ใบไม้ ดอกไม้ ฯลฯ และวัสดุธรรมชาติที่ได้จากสัตว์ เช่น เปลือกหอย เกล็ดปลา ซากกุ้ง ปู ฯลฯ ที่นำมาจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ เช่น การวาดภาพระบายสี การปั้น การร้อย การพิมพ์ภาพ การประดิษฐ์ การสร้างภาพ ฯลฯ

จากนั้นนำมาจัดกิจกรรมรูปแบบต่างๆ เช่น การวาดภาพระบายสีจากสิ่งที่สังเกตได้ การร้อย การประดิษฐ์ ฯลฯ

การที่เรานำวัสดุธรรมชาติที่ได้จากพืชและสัตว์มาจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ สามารถจัดได้หลากหลายกิจกรรม เช่น  การวาดภาพบนก้อนหิน การวาดภาพบนใบไม้ การร้อยพวงมาลัยจากดอกดาวเรือง การสานจากใบมะพร้าว ฯลฯ

กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติเหล่านี้นอกจากจะช่วยให้เด็กมีความสนุกสนานเพลิดเพลินในการแสดงออกทางด้านอารมณ์และความรู้สึกต่างๆผ่านผลงานและเด็กยังได้เรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ได้ทั้งทักษะการสังเกต เปรียบเทียบ การนับ การเรียนรู้ค่าและจำนวนอีกด้วย


Image result for คณิตศาสตร์ การ์ตูน



Image result for welcome การ์ตูน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่3

       วันจันทร์ ที่ 20 มกราคม พ.ศ.2563 เวลา 08:30-12:30 น.


เนื้อหาที่เรียน


       ทฤษฎีของเพียเจต์
             การเรียนรู้แบบต่อเนื่อง2-7ปี แบ่งออกเป็น 2 ช่วง
             ช่วงแรก 2-4 ปี (Sensoro-Montor) ขั้นประสาทรับรู้และเคลื่อนไหว
             ช่วงที่ 2 2-7 ปี (Preoperationnal Stage) ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด
                   -  2-4ปี เป็นขั้นอนุรักษ์ เด็กจะเด่นเรื่องของภาษา พูดตามที่เห็น
                   -  4-7ปี เป็นขั้นที่เด็กมีเหตุผลมากขึ้น
     
       คณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวของเรา พบเจอได้ในชีวิตประจำวันทั่วไป เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ การบวกลบเลขเงินทอนเวลาซื้อของ

       การประเมินเด็กสามารถประเมินได้จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เรียกว่า " การเรียนรู้ "
       
       การทำงานของสมอง
             สมองทำงานโดยการซึมซับรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5 อาจเชื่อมโยงกัับความรู้เดิมและปรับโครงสร้างเป็นความรู้ใหม่

อาจารย์ได้แจกกระดาษ1แผ่น ให้ทำเป็นรูปอะไรก็ได้เพื่อสอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

Image result for สามเหลี่ยมปิรามิด พับกระดาษ
                                                    รูปสามเหลี่ยมพีระมิด
สอนเรื่อง
-ปริมาตร
-รูปทรงเลขาคณิต
-นับด้สนของรูปพีระมิด



คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
                          สามเหลี่ยมมุมแหลม     Acute angled triangle– 
                          คณิตศาสตร์                 Mathematics
                          ตัวเลข                         Numeral   
                          วิธีการ                         Instrumentality
                          มาตราฐาน                   Standard
                         

ประเมิน

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับทักษะทางคณิตศาสตร์และการทำงานของสมองให้                           นักศึกษาได้เข้าใจว่าเป็นอย่างไร
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบาย และ ตั้งใจคิดว่าจะทำอย่างไรดีกับกระดาษ1แผ่น                            ที่อาจารย์ให้มา
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจฟังอาจารย์และให้ความร่วมมือในารตอบคำถามอาจารย์

วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2563


บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 2
วันจันทร์ ที่ 13 มกราคม พ.ศ.2563 เวลา 08:30-12:30 น.

Image result for welcome การ์ตูน

เนื้อหาที่เรียน

       พฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมานั้น เกิดมาจาก การเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัว การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็กนั้น มาจากการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่


ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์

  1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู 
     2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ 
       -ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน


       -ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ

     3.  ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้

     4.  ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่

คำศัพท์
  1. Assimilation  การซึมซับ
  2. Accommodation  การปรับและการจัดระบบ
  3. Recognition การรับรู้
  4. Behavior change การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
  5. Parenting การอบรมเลี้ยงดู

การประเมิน

ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังและสนทนาโต้ตอบกับอาจารย์
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆมีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการเรียนวันนี้
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายได้ชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย ตั้งคำถามให้นักศึกษาร่วมกัน ตอบและแสดงความคิดเห็น

วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2563

Image result for welcome การ์ตูน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1
วันจันทร์ ที่ 6 มกราคม พ.ศ.2563
เวลา 08:30-12:30 น.


เนื้อหาที่เรียน
                        วันนี้เป็นการเรียนการสอนวันแรกของรายวิชานี้ วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยอาจารย์ได้บอกเทคนิคการทำบล็อกเพื่อใช้เป็นแฟ้มสะสมผลงานของตนเอง ว่าจำเป็นต้องมีองค์ประกอบใดบ้าง และอาจารย์ได้มอบหมายงาน
1. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2. บทความที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
3. โทรทัศน์ครู

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
1. Learning         การเรียนรู้
2. Thinking         การคิด
3. The decision   การตัดสินใจ
4. Judgment        วิจารณญาณ
5. Rate                ประเมิน
6. Present           นำเสนอ


ประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์มอบหมายงานอย่างตั้งใจ
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจฟังอาจารย์และร่วมกันตอบคำถาม
ประเมินอาจารย์ : อธิบายวิธีการทำบล็อกและองค์ประกอบต่างๆ 

สาธิตการสอน (วันอังคาร)